9 วิธีออมเงิน ง่ายๆ สำหรับคน เก็บเงินไม่เก่ง

9 วิธีออมเงิน ง่ายๆ สำหรับคน เก็บเงินไม่เก่ง

วิธีออมเงิน ไม่จำเป็นจะต้องเป็นเรื่องยากครับ เรามาดู วิธีออมเงิน ง่ายๆ 9 วิธี ที่จะช่วยให้คุณออมเงินได้อย่างชิลๆ กันครับ

1. ออมวันละ 20 บาท

เงิน 20 บาท ฟังดูน้อยมากเลยใช่ไหมครับ แล้วแบบนี้จะออมเงินเป็นก้อนได้จริงๆ หรอ? บอกเลยว่าอย่าดูถูกธนบัตรใบน้อยครับ หากคุณทำติดต่อกันเป็นระยะเวลา 1 เดือน (วันหยุด ก็อย่ าหยุดออม นะครับ) คุณจะมีเงินออมถึง 600 บาท แล้วถ้าออมติดต่อกัน 1 ปีล่ะ คุณจะมีเงินออมถึง 7,300 บาทเลยล่ะ! (ห้ามแกะเงินออกมาใช้ล่ะ)

สำหรับคนที่มองว่า ยังไงก็น้อยไปอยู่ดี อาจจะเปลี่ยนจาก 20 บาทเป็นออมวันละ 50 บาท หรือ 100 บาทก็ได้ แต่สิ่งที่สำคัญก็คือ การสร้างนิสัยการออมเงินอย่างสม่ำเสมอ และการสร้างวินัยการออมเงินของตนเอง อย่าหาข้ออ้างนะครับ ใกล้สิ้นเดือนแล้ว ขอตามใจตัวเองหน่อยด้วยการนำเงินที่ต้องออมไปใช้ เพราะเมื่อคุณทำอย่างนั้นครั้งหนึ่ง ครั้งต่อๆ ไปก็จะตามมา สุดท้ายก็ออมเงินแทบไม่ได้เหมือนเดิมครับ

อ่านเรื่อง หากชีวิตเริ่มตกต่ำควร สวดมนต์ และอธิษฐานตามนี้ก่อนนอน ให้ชีวิตมีสิริมงคล

2. มีสลึง พึงบรรจบ ให้ครบบาท

หากวันนี้เราไปทำงาน ใช้เงินยังไงหากเราไม่พยายามจะใช้ให้หมดก็จะต้องได้เศษเงินทอน ได้เหรียญกลับมาบ้านแน่นอน จริงไหมครับ ก็ออมเหรียญนี่ล่ะครับ ได้มาเท่าไหร่ ก็เก็บใส่กระปุก อย่าเอาออกมาใช้ อาจจะใช้ขวดน้ำ กระป๋องอาหารล้างแล้วเจาะรูหยอดเหรียญ ทำเป็นกระปุกออมสินแบบแนวๆ ก็ได้ครับ ผมแนะนำใช้ขวดน้ำ หรือพาชนะใสๆ เพราะเราหยอดทุกวันๆ เห็นจำนวนเหรียญมันเพิ่มขึ้นๆ เป็นกำลังใจให้เราออมต่อไปได้ครับ

3. แบ่งเงินใส่ถุง

ให้คุณลองสังเกตตัวเองดูว่า เฉลี่ยแล้วในแต่ละวันเสียเงินไปประมาณกี่บาท บวกเงินเข้าไปอีกนิดหน่อยเผื่อมีอะไรฉุกเฉิน หาตัวเลขกลมๆ ไว้ แล้วให้นำเงินมาใส่ถุงเพื่อใช้ในแต่ละวัน เช่น หากคุณใช้เงินวันละไม่เกิน 200 บาท ก็อาจจะใส่ซองไว้ 250 บาท เป็นจำนวนซองเท่าจำนวนวันในเดือนนั้น จากนั้นก่อนออกไปเรียนหรือไปทำงาน

ก็หยิบซองเงินมาหนึ่งซอง การทำอย่างนี้จะช่วยให้คุณใช้เงินในจำนวนจำกัด ที่เหลือจะได้ออมหมด และฝึกให้คุณวางแผนจัดการเงินในมืออย่างมีคุณค่ามากที่สุดด้วย

4. กินแค่ 150 ถ้าเกิน ต้องหยอดกระปุกตามที่เกิน

กำหนดเลยว่า ภายในหนึ่งวัน คุณต้องใช้เงินไปกับค่าอาหารแค่ประมาณ 100 บาทเท่านั้น หากเกินกว่านี้ เช่น คุณจ่ายค่าอาหารไป 200 บาทวันนี้ แสดงว่าคุณต้องหยอดกระปุกเป็นเงิน 50 บาท วิธีนี้นอกจากจะได้จำกัดงบประมาณตนเองในการเลือกซื้ออาหาร ยังได้ออมเงินเพิ่มอีกนิดๆ ด้วย แบบนี้เงินเก็บหนาแน่นอน

5. มีหลายๆ กระปุก

สำหรับวิธีนี้ ง่ายๆ เลยก็คือ ให้หากระปุกมาหลายๆ กระปุก จากนั้นก็เขียนแปะลงไปบนแต่ละกระปุกเลยว่า อันนี้เก็บไปจ่ายอะไร เช่น ค่ารองเท้าทำงานคู่ใหม่ ค่าทริปไปต่างประเทศ เป็นต้น การทำอย่างนี้จะช่วยให้กำลังใจให้คุณในการออมเงินเพื่อเป้าหมายอะไรบางอย่าง คุณอาจนำวิธีออมเงินอื่นๆ มาประยุกต์ใช้กับวิธีนี้ด้วยก็ได้ ถึงเวลาที่จะต้องใช้เงิน ก็แคะกระปุกมานับดู

6. หักเศษเงินเดือน

สมมุติ คุณได้เงินเดือน 14,570 บาท ก็ลองเอา 570 บาทที่เป็นเศษออกมาเก็บไว้ เท่านี้ก็ได้รู้แล้วว่าอย่างน้อยๆ เนี่ย เดือนนี้ฉันมีเงินเก็บ 570 บาทแล้วนะ ง่ายๆ เลยใช่ไหมล่ะ นี่ยังไม่รวมกับการใช้วิธีอื่นๆ อีกในการออมเงินอีกนะเนี่ย

7. เจอแบงค์ใหม่ อย่าใช้

ถ้าคุณได้ธนบัตรใหม่ที่ใบยังสวยๆ เหมือนกับยังไม่เคยผ่านมือใครมาก่อน ให้คุณเก็บไว้เลย ซึ่งคุณอาจถามกลับว่า ถ้าไปกดเงินมา หรือไปธนาคารแล้วได้ธนบัตรใหม่มาทั้งหมดเลย แต่ต้องกินต้องใช้นี่? ก็ถ้าเป็นธนบัตร 1,000 หรือ 500 บาท ยังไงก็ต้องนำไปใช้แหละเนอะ แต่ถ้าเจอธนบัตรย่อยๆ อย่าง 100 หรือ 50 บาท อย่างนี้อย่าใช้ รีบเก็บเลย

8. ออมเท่าค่ากาแฟ

คุณเป็นหนึ่งในคนที่ซื้อกาแฟทุกเช้าเพื่อให้ร่างกายรู้สึกกระปรี้กระเปร่าพร้อมทำงานหรือเปล่า? ยิ่งซื้อจากร้านชื่อดังบางร้านแล้ว มูลค่าแทบจะเทียบเท่าอาหาร 3 มื้อเลยด้วยซ้ำ วิธีนี้จะช่วยให้คุณได้มองเห็นว่า การซื้อกาแฟจากร้าน ซึ่งดูเหมือนเป็นค่าใช้จ่ายเพียงเล็กน้อย จริงๆ แล้วเมื่อทำทุกวัน จะเห็นได้ว่า ค่าใช้จ่ายตรงนี้แหละที่ทำให้เงินออมเราหายไปเป็นจำนวนมาก

สมมุติคุณซื้อกาแฟทุกวันที่ไปทำงาน ราคาแก้วละ 70 บาท คุณจะได้ออมเงิน 1,400 บาทจากวิธีนี้เพียงอย่างเดียว แต่ก็เท่ากับว่าคุณเสียเงินไป 1,400 บาทด้วยเช่นกัน ดังนั้นถ้าซื้อกาแฟน้อยลง เงินที่จะบินออกจากกระเป๋าเงินของคุณก็จะน้อยลง และส่วนนั้นก็จะสามารถกลายมาเป็นเงินออมได้โดยปริยาย

9. ออม 10% จากเงินที่ได้

พ่อค้าแม่ค้า เงินที่ได้มามักจะไม่ค่อยได้เก็บเพราะเอาไปหมุนเงินซื้อของเพื่อนำมาขายต่ออีกเรื่อยๆ มีเงินในบัญชีหรือในมือเมื่อไรก็เอาไปลงกับการซื้อของหมด ดังนั้น ลองใช้วิธี ออม 10% จากเงินที่ได้ในแต่ละวัน เช่น วันนี้ขายของได้ 5,000 บาท ก็ให้หยอดลงกระปุก 500 บาท วันไหนขายได้มากก็มีเงินออมมาก วันไหนขายได้น้อยก็มีเงินออมน้อย แต่ที่สำคัญคือเรามีเงินออมทุกวันนะครับ สำหรับผู้ที่ทำงานรับเงินเดือน เราก็สามารถทำวิธีนี้ได้เหมือนกัน

คือเก็บเงินจากเงินเดือน แบ่งออกมา 10% ทุกเดือนๆ แล้วฝากธนาคาร โดยเราจะต้องไม่นำเงินส่วนนี้ออกมาใช้เลย หากเราได้เงินเดือนละ 15,000 บาทก็เก็บเดือนละ 1,500 บาท เป็นต้น สิ้นปีที มาตรวจสอบบัญชีอีกทีอาจจะมีมากกว่าที่เราคิดก็ได้นะครับ การออมเงินจริงๆ แล้วเราสามารถเริ่มต้นได้ด้วยการออมเพียงแค่วันละนิดวันละหน่อย โดยเน้นที่การสร้างนิสัย และวินัยในการออมเงิน ออมวันละนิดก็ยังดีกว่ามัวแต่นั่งคิดว่าออมไม่ไหวนะครับ

ที่มา : moneyguru , mthai, aommoney, pomshare

admin